เกร็ดความรู้อาเซียนเกร็ดความรู้อาเซียน ข้อมูลง่ายๆ ที่ช่วยให้รู้จักกับอาเซียนมากยิ่งขึ้น (เว็บ กรมการศึกษานอกโรงเรียน – กศน.)แหล่ง: http://www.nfe.go.th/en/index.php?option=com_content&view=article&id=133&Itemid=67 |
Written by PLANNING DIVISION |
Friday, 29 July 2011 14:40 |
สำนักงาน กศน. ขอเสนอ “เกร็ดข้อมูลอาเซียน” เพื่อช่วยให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจรายละเอียดของอาเซียนได้ดียิ่งขึ้น เป็นการเตรียมตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในปี พ.ศ. 2558 ที่จะถึงนี้ เกร็ดความรู้ เรื่องที่ 1 ASEAN (อาเซียน) ย่อมาจาก Association of Southeast Asian Nations หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วย 10 ประเทศ คือ 1. กัมพูชา 2. ไทย 3. บรูไนดารุสซาลาม 4. พม่า 5. ฟิลิปปินส์ 6. มาเลเซีย 7. ลาว 8. สิงคโปร์ 9. เวียดนาม 10. อินโดนีเซีย เกร็ดความรู้อาเซียน เรื่องที่ 2
เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของอาเซียน
1) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และการบริหาร2) เพื่อส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค 3) เพื่อเสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจและพัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมิภาค 4) เพื่อเสริมสร้างให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี 5) เพื่อให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในรูปแบบของการฝึกอบรมและการวิจัยและส่งเสริมการศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 6) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม การขยายการค้า ตลอดจนปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม 7) เพื่อส่งเสริมความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอก องค์การความร่วมมือแห่งภูมิภาคอื่นๆ และองค์การระหว่างประเทศ เกร็ดความรู้อาเซียน เรื่องที่ 3 รู้จักเพื่อนบ้านอาเซียน คลิ๊กที่นี่เพื่อดูรายละเอียด เกร็ดความรู้อาเซียน เรื่องที่ 4 อาเซียน +3 และ อาเซียน +6 คืออะไร ? อาเซียน +3 คือ กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ และ 3 ประเทศนอกอาเซียน ได้แก่ 1) จีน 2) ญี่ปุ่น 3) เกาหลีใต้ อาเซียน +6 คือ กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ และ 6 ประเทศนอกอาเซียน ได้แก่ 1) จีน 2) ญี่ปุ่น 3) เกาหลีใต้ 4) ออสเตรเลีย 5) นิวซีแลนด์ 6) อินเดีย เกร็ดความรู้อาเซียน เรื่องที่ 5
7 วิชาชีพที่สามารถย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรี
ในประชาคมอาเซียน
1. แพทย์ 2. ทันตแพทย์ 3. นักบัญชี 4. วิศวกร 5. พยาบาล 6. สถาปนิก 7. นักสำรวจ เกร็ดความรู้อาเซียน เรื่องที่ 6
เพลงประจำอาเซียน
“The
เป็นผลงานจากประเทศไทยที่ชนะเลิศจากการแข่งขันระดับภูมิภาคอาเซียน ประพันธ์โดยนายกิตติคุณ สดประเสริฐ (ทำนองและเรียบเรียง) ได้เริ่มใช้บรรเลงอย่างเป็นทางการครั้งแรกในพิธีเปิดการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2552 ที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
เนื้อร้อง
Raise our flag high, sky high
Embrace the pride in our heart
ASEAN we are bonded as one
Look-in out-ward to the world.
For peace, our goal from the very start
And prosperity to last.
WE dare to dream we care to share.
Together for ASEAN
We dare to dream,
We care to share for it's the way of ASEAN.
เนื้อร้อง ภาษาไทย
พลิ้วลู่ลม โบกสะบัด ใต้หมู่ธงปลิวไสว
สัญญาณแห่ง สัญญาทางใจ
วันที่เรามาพบกัน
อาเซียน เป็นหนึ่ง ดังที่เราปรารถนา
เราพร้อมเดินหน้าไปตรงนั้น
หล่อหลวมจิตใจ ให้เป็นหนึ่งเดียว
อาเซียนยึดเหนี่ยวสัมพันธ์
ให้สังคมนี้ มีแต่แบ่งปัน
เศรษฐกิจ มั่นคง ก้าวไกล
สามารถฟังเพลง The ASEAN Way ได้จาก http://www.youtube.com/watch?v=TcpoRAA-kCg&feature=related เกร็ดความรู้อาเซียน เรื่องที่ 7
อาหารยอดนิยมในอาเซียน (1)
“อัมบูยัต”(Ambuyat)
มีลักษณะเด่นคือ เหนียวข้นคล้ายข้าวต้มหรือโจ๊ก ไม่มีรสชาติ มีแป้งสาคูเป็นส่วนผสมหลัก วิธีทานจะใช้แท่งไม้ไผ่ 2 ขาซึ่งเรียกว่า chandas ม้วนแป้งรอบๆ แล้วจุ่มในซอสผลไม้เปรี้ยวที่เรียกว่า cacah หรือซอสที่เรียกว่า cencalu ซึ่งทำจากกะปิ ทานคู่กับเครื่องเคียงอีก 2-3 ชนิด เช่น เนื้อห่อใบตองย่าง เนื้อทอด เป็นต้น การรับประทานอัมบูยัตให้ได้รสชาติ ต้องทานร้อนๆ และกลืน โดยไม่ต้องเคี้ยว เกร็ดความรู้อาเซียน เรื่องที่ 8
อาหารยอดนิยมในอาเซียน (2)
“อาม็อก”(Amok)
อาหารยอดนิยมของประเทศกัมพูชา มีลักษณะคล้ายห่อหมกของไทย นิยมใช้เนื้อปลาปรุงด้วยน้ำพริก เครื่องแกงและกะทิ ทำให้สุกโดยการนำไปนึ่ง อาจใช้เนื้อไก่หรือหอยแทนได้ แต่ที่นิยมใช้เนื้อปลาเพราะหาได้ง่าย เกร็ดความรู้อาเซียน เรื่องที่ 9
อาหารยอดนิยมในอาเซียน (3)
“กาโด กาโด”(Gado Gado)
อาหารยอดนิยมของอินโดนีเซีย อาหารสำหรับผู้ที่รักสุขภาพ ประกอบไปด้วยผักและธัญพืช เช่น มันฝรั่ง กะหล่ำปลี ถั่วงอก ถั่วเขียว เสริมโปรตีนด้วยเต้าหู้และไข่ต้ม รับประทานคู่กับซอสถั่วที่คล้ายกับซอสสะเต๊ะ ซึ่งใกล้เคียงกับสลัดแขก ของประเทศไทย เกร็ดความรู้อาเซียน เรื่องที่ 10
อาหารยอดนิยมในอาเซียน (4)
“ซุปไก่”(Chicken Soup)
อาหารยอดนิยมของลาว แกงรสชาติหวานอร่อยกลมกล่อม ที่มีส่วนผสมสำคัญ ได้แก่ ตะไคร้ ใบสะระแหน่ กระเทียม หอมแดง รวมถึงรสชาติเปรี้ยว เผ็ด จากมะนาวและพริก รับประทานร้อนๆ กับข้าวเหนียว ได้คุณค่าทางโภชนาการอาหารและความอร่อยไปพร้อมๆ กัน เกร็ดความรู้อาเซียน เรื่องที่ 11
มรดกโลกในอาเซียน (1)
"อ่าวฮาลอง" (Halong Bay)
อ่าวฮาลองมีเกาะหินปูนจำนวน 1,969 เกาะ โผล่พ้นขึ้นมาจากผิวทะเล บนยอดของแต่ละเกาะมีต้นไม้ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น หลายเกาะมีถ้ำขนาดใหญ่อยู่ภายใน เกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบริเวณอ่าว 2 เกาะ คือ เกาะกัดบา และเกาะ Tuan Chau ทั้งสองเกาะนี้มีคนตั้งถิ่นฐานอยู่อย่างถาวร มีโรงแรมและชายหาดจำนวนมากคอยให้บริการนักท่องเที่ยว บางเกาะเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านชาวประมง และบางเกาะยังเป็นถิ่นอาศัยของสัตว์หลายชนิด เช่น ไก่ป่า ละมั่ง ลิง และกิ้งก่าหลายชนิด เกาะเหล่านี้มักจะได้รับการตั้งชื่อจากรูปร่างลักษณะที่แปลกตา เช่น เกาะช้าง (Voi Islet) เกาะไก่ชน (Ga Choi Islet) เกาะหลังคา (Mai Nha Islet) เป็นต้น อ่าวฮาลองได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2537 เกร็ดความรู้อาเซียน เรื่องที่ 12
ภาษาน่ารู้อาเซียน
เกร็ดความรู้อาเซียน เรื่องที่ 13
การศึกษาของประชาคมอาเซียน
คลิ๊กที่นี่เพื่อดูรายละเอียด เกร็ดความรู้อาเซียน เรื่องที่ 14
ข้อมูลประเทศในอาเซียนที่ควรรู้ (1)
บรูไนดารุสซาลาม (BRUNEI DARUSSALAM)
พื้นที่: 5,765 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว
เมืองหลวง : บันดาร์ เสรี เบกาวัน ประชากร: 395,027 คน ภาษาราชการ : มาเลย์ (Malay หรือ Bahasa Melayu) ศาสนา: อิสลาม (67%) พุทธ (13%) คริสต์ (10%) และฮินดู (10%) ระบอบการปกครอง : สมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยมีสมเด็จพระราชาธิบดีเป็นองค์ประมุขผู้นำรัฐบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง วันชาติ 23 กุมภาพันธ์ หน่วยเงินตรา บรูไนดอลลาร์ ( 1 บรูไนดอลลาร์ ประมาณ 24.07 บาท) ดอกไม้ประจำชาติ : ดอก Simpor (Dillenia Suffruticosa) เป็นดอกไม้ที่มีกลีบดอกขนาดใหญ่สีเหลือง เมื่อบานเต็มที่กลีบดอกจะบานคล้ายกับร่ม ข้อมูลทางเศรษฐกิจ
เกร็ดความรู้อาเซียน เรื่องที่ 15
ข้อมูลประเทศในอาเซียนที่ควรรู้ (2)
ราชอาณาจักรกัมพูชา (KINGDOM OF CAMBODIA)
เมืองหลวง : กรุงพนมเปญ ประชากร : 14.45 ล้านคน ภาษาราชการ : ภาษาเขมร ศาสนา : พุทธเถรวาท (มหานิกาย 90% และธรรมยุตินิกาย 10%) ระบอบการปกครอง : ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ ประมุข : พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี วันชาติ : 9 พฤศจิกายน หน่วยเงินตรา : เรียล (1 เรียล ประมาณ 0.0083 บาท) ดอกไม้ประจำชาติ : ดอก Rumdul หรือดอกลำดวน เป็นดอกสีขาวเหลืองอยู่บนใบเดี่ยว มีกลิ่นหอมช่วงเวลาค่ำ ข้อมูลทางเศรษฐกิจ
เกร็ดความรู้อาเซียน เรื่องที่ 16
ข้อมูลประเทศในอาเซียนที่ควรรู้ (3)
สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (REPUBLIC OF INDONESIA)
เมืองหลวง: กรุงจาการ์ตา ประชากร : 245.5 ล้านคน ภาษาราชการ : บาร์ฮาซา อินโดนีเซีย ศาสนา : อิสลาม (88%) คริสต์ (8%) ฮินดู (2%) พุทธ (1%) อื่นๆ (1%) ระบอบการปกครอง : ระบอบสาธารณรัฐแบบประชาธิปไตย มีประธานาธิบดีเป็นประมุข ประมุข : ดร. ซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน วันชาติ : 17 สิงหาคม หน่วยเงินตรา: รูเปียห์ (10,000 รูเปียห์ ประมาณ 38 บาท) ดอกไม้ประจำชาติ : ดอก Moon Orchid หรือกล้วยไม้ราตรี เป็นกล้วยไม้สายพันธ์ Phalaenopsis Amabilis ข้อมูลทางเศรษฐกิจ
เกร็ดความรู้อาเซียน เรื่องที่ 17
ข้อมูลประเทศในอาเซียนที่ควรรู้ (4)
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
THE LAO PEOPLE'S DEMOCRATIC REPUBLIC
เมืองหลวง : นครหลวงเวียงจันทร์ ประชากร : ประมาณ 6 ล้านคน ภาษาราชการ : ภาษาลาว ศาสนา : พุทธ (75%) อื่นๆ (16-17%) ระบอบการปกครอง : ระบอบสังคมนิยม ประมุข: พลโท จูมมาลี ไซยะสอน ประธานประเทศ สปป. ลาว วันชาติ : 2 ธันวาคม หน่วยเงินตรา : กีบ (1 บาท เท่ากับประมาณ 250 กีบ) ดอกไม้ประจำชาติ : ดอก Champa หรือดอกลีลาวดี มีกลิ่นหอมและมีหลายสี เช่น สีแดง สีเหลือง สีชมพู และโทนสีอ่อนต่างๆ เป็นตัวแทนของความจริงใจและความสุขในชีวิต ข้อมูลทางเศรษฐกิจ
เกร็ดความรู้อาเซียน เรื่องที่ 18
ข้อมูลประเทศในอาเซียนที่ควรรู้ (5)
มาเลเซีย ( MALAYSIA)
พื้นที่: 329,758 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง: กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประชากร : 28.9 ล้านคน ภาษาราชการ : มาเลย์ ศาสนา : อิสลาม (60%) พุทธ (19%) คริสต์ (12%) อื่นๆ (9%) ระบอบการปกครอง : สหพันธรัฐ โดยมีสมเด็จพระราชาธิบดีเป็นประมุข ประมุข : สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านตวนกู อับดุล ฮาลิม มูอัซซอม ซาห์ วันชาติ : 31 สิงหาคม หน่วยเงินตรา : ริงกิต (1 ริงกิตประมาณ 10.22 บาท) ดอกไม้ประจำชาติ : ดอก Bunga raya หรือดอกพู่ระหง โดยทั้ง 5 กลีบดอกเป็นตัวแทน 5 หลักการแห่งความเป็นชาติของมาเลเซีย ซึ่งเป็นปรัชญาเพื่อเสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นและความอดทนในชาติ ข้อมูลทางเศรษฐกิจ
เกร็ดความรู้อาเซียน เรื่องที่ 19
ข้อมูลประเทศในอาเซียนที่ควรรู้ (6)
สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์
(REPUBLIC OF THE UNION OF THE MYANMAR)
เมืองหลวง : นครเนปิดอร์ ประชากร : 57.5 ล้านคน ภาษาราชการ พม่า ศาสนา : พุทธ (90%) คริสต์ (5%) อิสลาม (3.8%) ฮินดู (0.05%) ระบอบการปกครอง : ระบบประธานาธิบดี ประมุข : พลเอก เต็ง เส่ง วันชาติ : 4 มกราคม หน่วยเงินตรา : จั๊ต (1 USD ประมาณ 1,200 จั๊ต) ดอกไม้ประจำชาติ : ดอก Paduak หรือดอกประดู่ ผลิดอกสีเหลืองทอง และส่งกลิ่นหอมหลังฤดูฝนแรกของเดือนเมษายน ข้อมูลทางเศรษฐกิจ
เกร็ดความรู้อาเซียน เรื่องที่ 20
ข้อมูลประเทศในอาเซียนที่ควรรู้ (7)
สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (REPUBLIC OF THE PHILIPPINES)
เมืองหลวง : กรุงมะนิลา ประชากร : 98 ล้านคน ภาษาราชการ : ตากาล๊อก และภาษาอังกฤษ ศาสนา : โรมันคาทอลิก (83%) โปรเตสแตนท์ (9%) อิสลาม (5%) อื่นๆ (3%) ระบอบการปกครอง : สาธารณรัฐเดี่ยวระบบประธานาธิบดี ประมุข : เบนิกโน อากีโน ที่ 3 หน่วยเงินตรา : เปโซ ( 100 เปโซ ประมาณ 49 บาท) ดอกไม้ประจำชาติ : ดอก Sampaguita Jasmine มีกลีบดอกรูปดาวสีขาวที่บานตลอดปี แย้มดอกตอนกลางคืน และมีกลิ่นหอม ข้อมูลทางเศรษฐกิจ
เกร็ดความรู้อาเซียน เรื่องที่ 21
ข้อมูลประเทศในอาเซียนที่ควรรู้ (8)
สาธารณรัฐสิงคโปร์ (REPUBLIC OF SINGAPORE)
เมืองหลวง : สิงคโปร์ ประชากร : 4.6 ล้านคน ภาษาราชการ : ภาษาอังกฤษ ภาษาจีนกลาง ภาษามาเลย์ ภาษาทมิฬ ศาสนา : พุทธ (42.5%) อิสลาม (14.9%) คริสต์ (14.6%) ฮินดู (4%) ไม่นับถือศาสนา (24%) ระบอบการปกครอง : ระบบสาธารณรัฐแบบรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็นประมุข ประมุข : นาย นายกรัฐมนตรี : ลี เซียนลุง หน่วยเงินตรา : ดอลลาร์สิงคโปร์ ( 1 ดอลลาร์สิงคโปร์ ประมาณ 24.39 บาท) ดอกไม้ประจำชาติ : ดอก Vanda Miss Joaquim เป็นดอกกล้วยไม้ซึ่งเป็นที่รู้จักมากที่สุดในประเทศสิงคโปร์ โดยตั้งชื่อตามผู้ผสมพันธุ์ มีสีม่วงและรูปลักษณ์ที่สวยงาม ข้อมูลทางเศรษฐกิจ
เกร็ดความรู้อาเซียน เรื่องที่ 22
ข้อมูลประเทศในอาเซียนที่ควรรู้ (9)
ราชอาณาจักรไทย (KINGDOM OF THAILAND)
เมืองหลวง : กรุงเทพมหานคร ประชากร : ประมาณ 64 ล้านคน ภาษาราชการ : ภาษาไทย ศาสนา : พุทธ (94.6%) อิสลาม (4.6%) คริสต์ (0.7%) อื่นๆ (0.1%) ระบอบการปกครอง : ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ประมุข : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช หน่วยเงินตรา : บาท ดอกไม้ประจำชาติ : ดอก Ratchaphruek หรือราชพฤกษ์ มีช่อดอกสีเหลืองที่สวยงาม ชาวไทยถือว่าสีเหลืองของดอกไม้ชนิดนี้ คือ สีของพระพุทธศาสนา และความรุ่งโรจน์ ข้อมูลทางเศรษฐกิจ
เกร็ดความรู้อาเซียน เรื่องที่ 23
ข้อมูลประเทศในอาเซียนที่ควรรู้ (10)
สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
(SOCIALIST REPUBLIC OF VIETNAM)
เมืองหลวง : กรุงฮานอย ประชากร : ประมาณ 89.57 ล้านคน ภาษาราชการ : ภาษาเวียดนาม ศาสนา : พุทธ (มหายาน) ระบอบการปกครอง : ระบอบสังคมนิยม ประธานาธิบดี : เจือง เติ๋น ซาง หน่วยเงินตรา : ด่อง ( 1,000 ด่อง ประมาณ 1.10 บาท) วันชาติ : 2 กันยายน ดอกไม้ประจำชาติ : ดอก Lotus หรือ ดอกบัว สำหรับชาวเวียดนามแล้ว ดอกบัวคือสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ ความผูกพัน และการมองโลกในแง่ดี เป็น 1 ใน 4 พันธ์ไม้ที่มีความสง่างามของชาวเวียดนาม ซึ่งประกอบด้วย ต้นสน ต้นไผ่ ต้นเบญจมาศ และดอกบัว ข้อมูลทางเศรษฐกิจ
เกร็ดความรู้อาเซียน เรื่องที่ 24
"ภาษาบอกรัก" ในอาเซียน
♥ ภาษาไทย - ฉันรักเธอ
♥ ภาษาลาว - ข้อยฮักเจ้า
♥ ภาษาพม่า - จิต พา เด (chit pa de)♥ ภาษาเวียดนาม - ตอย ยิ่ว เอ๋ม (Toi yue em) ♥ ภาษาเขมร - บอง สรัน โอง (Bon sro Ianh oon) ♥ ภาษามาเลย์ - ซายา จินตามู (Saya cintamu) ♥ ภาษาอินโดนีเซีย - ซายา จินตา ปาดามู (Saya cinta padamu) ♥ ภาษาตากาล็อก - มาฮัล กะ ตา (Mahal ka ta) ♥ ภาษาจีนกลาง - หว่อ อ้าย หนี่ (Wo ai ni) ♥ ภาษาญี่ปุ่น - ไอ ชิเตรุ (Ai shiteru) ♥ ภาษาเกาหลี - ซารัง แฮโย (Sarang Heyo) แหล่งข้อมูล : http://www.dek-d.com/
เกร็ดความรู้อาเซียน เรื่องที่ 25
มรดกโลกในอาเซียน (2)
อุทยานแห่งชาติกูนุงมูลู (Gunung Mulu National Park)
อุทยานแห่งชาติกุนุงมูลู (Gunung Mulu National Park) เป็นอุทยานที่ตั้งอยู่ในบนเกาะบอร์เนียว รัฐซาราวัก ประเทศมาเลเซีย ติดกับชายแดนของประเทศบรูไน เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายในด้านชีววิทยาและธรณีวิทยาเป็นอย่างมาก มีพันธุ์พืชกว่า 3,500 ชนิด และมีพันธุ์ปาล์มกว่า 109 ชนิด ในด้านธรณีวิทยาเป็นภูมิประเทศแบบ Karst หรือภูมิประเทศแบบหินปูน มีพื้นที่สูงๆ ต่ำๆ หน้าผาสูงชัน ยอดแหลม มักพบรอยแตกกว้างซึ่งกลายเป็นถ้ำในแนวดิ่งหรือแนวเฉียง ส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นโพรงยาว ปากถ้ำแคบ ภายในถ้ำกว้าง ผนังและเพดานถูกปกคลุมด้วยหินงอกหินย้อย และเกิดถ้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกอยู่ในอุทยานแห่งนี้ คือ “ถ้ำซาราวัค แซมเบอร์” (Sarawak chamber) ซึ่งมีความยาว อุทยานแห่งชาติกุนุงมูลู ได้รับการลงทะเบียนมรดกโลก ในปี พ.ศ. 2543 แหล่งข้อมูลและรูปภาพ : http://www.wikipedia.org/ , http://www.mulucaves.org/ |